บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ไม่เสียภาษี ถือเป็นสินค้าผิดกฎหมายที่ต้องได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีผู้ที่แอบนำเข้าและแอบลักลอบขายบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
หากมีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานที่สาธารณะที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ เช่น ในโรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด ถือว่าฝ่าฝืนตามมาตรา 42 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และสำหรับกรณีของผู้ที่ช่วยซ่อนเร้น ซื้อ รับไว้ หรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่ามีความผิดเช่นกัน ซึ่งหากถูกจับกุมดำเนินคดีต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตามประกาศจากกระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าและบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้าม ในการนำเข้าตามประกาศ ของ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 ผู้ที่ฝ่าฝืนลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัด จะต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าทั้งหมด หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงริบสินค้าและพาหนะบรรทุกสินค้าอีกด้วย
ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครอบผู้บริโภคที่ 9/2558 เป็นสินค้าต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นการขายบุหรี่ไฟฟ้า หรือให้บริการ ผู้ที่กระทำผิดจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้หากผู้กระทำผิดเป็นผู้สั่งผลิตและนำเข้ามาขายด้วย ก็จะต้องโทษเพิ่มสูงขึ้นอีก เป็นจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตามมาตรา 246 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ผู้มีส่วนช่วยซ่อนเร้น รับหรือซื้อไว้และมีไว้ครอบครอง จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้น มาตรการการห้ามนำเข้า ห้ามให้บริการ หรือการขายบุหรี่ไฟฟ้า และยังมีผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศมากกว่า 300,000 ราย จึงทำให้ถูกตั้งคำถามเป็นอย่างมาก ว่ามาตรการนี้มีความเหมาะสมแล้วหรือไม่ ในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว เพราะหากมองในมุมของเศรษฐศาสตร์แล้ว เมื่อมี “ดีมานด์”หรือความต้องการ ก็ย่อมมี “ซัพพลาย” การจัดการไล่จับ ผู้นำเข้า ผู้ใช้ หรือผู้ขาย พอท บุหรี่ไฟฟ้า ราคาถูกจึงเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น